แผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

จากมาตราฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้มีข้อกำหนดและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉินในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรังสี (radiation emergency) สำหรับในทุกประเทศ โดยองค์ประกอบหลักในการพัฒนาประสิทธิภาพของแผนรับมือเหตุฉุกเฉินดังนี้

  • (1) ความรับผิดชอบพื้นฐาน (Basie Responsibilities)
  • (2) การประเมิน (threats)
  • (3) การจัดตั้งการจัดการและการดำเนินการเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
  • (4) การระบุ, การแจ้งเตือน และการดำเนินการ
  • (5) การดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบ (Taking mitigatory actions)
  • (6) การดำเนินการป้องกันอย่างรีบด่วน (Taking urgent protective actions)
  • (7) การจัดเตรียมข้อมูลและจัดพิมพ์ข้อแนะนำและข้อควรระวังแก่สาธารณชน
  • (8) การป้องกันผู้ปฏิบัติงานในช่วงเกิดเหตุฉุกเฉิน (emergency workers)
  • (9) การกำหนด initial phase (Assessing the initial phase)
  • (10) การจัดเตรียมความพร้อมทางการแพทย์
  • (11) การให้ข้อมูลแก่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
  • (12) การกำหนดมาตราการรับมือทางด้านการเกษตร การกำหนดมาตราการที่เกี่ยวกับการกินอาหารและการดำเนินการป้องกันในระยะที่ยาวขึ้น
  • (13) การดำเนินการบรรเทาผลกระทบที่ไม่เกี่ยวข้องกับรังสี ที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรังสี (radiation emergency) และมาตราการตอบโต้ (response)
  • (14) การดำเนินปฏิบัติการฟื้นฟู (Conducting recovery operations)
  • (15) ข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน (Requirements for infrastructure)

การจัดตั้งระบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับแผนการรับมือเหตุฉุกเฉินในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ของโครงการ ในการจัดตั้งพื้นฐานความปลอดภัย ( building safety infrastructure)

     การจัดการเกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉินถือเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยในระดับชาติการพัฒนาและการเพิ่มเติมองค์ประกอบที่สำคัญ จะนำไปสู่การมีแผนรับมือเหตุฉุกเฉินที่มั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศที่มีการตัดสินใจที่จะมีแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

          โดยขบวนการทั่วไปในการจัดตั้งโครงสร้างความปลอดภัยพื้นฐาน (safety infrastructure) ของประเทศที่จะมีแผนการดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะประกอบด้วย 3 เฟส โดยแต่ละเฟสจะมี milestone ควบคู่กัน โดยวิธีการพื้นฐานในการจัดตั้งมาตราการตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสี (radiation emergency) ที่โรงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพตาม threat category I และ II ตามวิธีภายใน Refs [3,8] ดังรูปที่ 1 แสดงการจัดตั้งระบบการจัดการของแผนรับมือเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเชื่อมโยงกับการจัดเตรียมโครงสร้างความปลอดภัย (safety infrastructure)  สำหรับแผนการดำเนินการของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

รูปที่1 แสดงแสดงการจัดตั้งระบบการจัดการของแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

Image

 ในช่วงของเฟส 1, การประเมินระดับความพร้อมตามข้อกำหนดของการมีแผนรับมือเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธภาพ ต้องมีการถ่ายทอดไปยังผู้ทำการตัดสินใจในระดับชาติ (national decision makers) โดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพในการเตรียมพร้อมและการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่มีอยู่ (เช่น แผนกการตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสี)

          ในช่วงของเฟส 2, ภายหลังจากทำการตัดสินใจที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะต้องมีการจัดตั้งข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัย (safety requirements) ที่จำเป็นเพื่อรองรับกรณีเกิด threat category I และ II

          ในช่วงของเฟส 3, ก่อนที่จะทำการดำเนินงานโรงไฟฟ้า จะต้องมีการพัฒนาความสามารถในการตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสี (radiation emergency) ที่โรงไฟฟ้าของ threat category I และ II ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในระดับสากล (international requirements)

          ขั้นตอนที่สำคัญในการจัดตั้งแผนรับมือเหตุฉุกเฉินในช่วงเฟสต่างๆ ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยสำหรับการดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คือ

1.) การประเมินระดับความพร้อมตามข้อกำหนดของแผนรับมือเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

2.) ความพร้อมในการเริ่มต้นในการจัดตั้งหรือขยายความสามารถเกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

3.) การจัดเตรียมเกี่ยวกับข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัยเพื่อรองรับ threat category I และ II

4.) การเตรียมความพร้อมในการเริ่มต้นที่จะพัฒนาแผนรับมือเหตุฉุกเฉินสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงแรก

5.) การเตรียมการเกี่ยวกับแผนการแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ของโรงไฟฟ้าสำหรับ threat category I และ II

6.) ความพร้อมในการรับมือต่อ threat category I และ II

          โครงสร้างในการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสีที่โรงไฟฟ้าสำหรับ threat category I และ II จำเป็นที่จะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะมีการจัดส่งเชื้อเพลิงในครั้งแรก (first fuel delivery) ให้แก่โรงไฟฟ้าก่อนที่จะทำการดำเนินงานและจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดสากลสำหรับประเทศที่มีการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า

          ในช่วงของเฟส 1 ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในการดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้น รัฐบาลควรที่จะมีการดำเนินการต่อไปนี้ คือ

- รัฐบาลควรที่จะแสดงให้เห็นถึงความตระหนักในความจำเป็นในการจัดเตรียมแผนฉุกเฉินตั้งแต่ในระยะแรก

- รัฐบาลควรที่จะทำการระบุองค์กรต่างๆ (institutions) และการจัดการในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนต่อแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

          ในช่วงของเฟสที่ 2 การจัดเตรียมแผนการในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ภายหลังจากที่ทำการตัดสินใจที่จะดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งในช่วงของเฟส 2 นี้ รัฐบาลควรที่จะมีการดำเนินการต่อไปนี้คือ

- รัฐบาลควรที่จะทำการระบุองค์กรในระดับชาติ (national institutions) ซึ่งมีหน้าที่ต่อแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

- รัฐบาลควรทำการระบุขั้นตอนของแผนรับมือเหตุฉุกเฉินบนพื้นฐานของความเป็นไปได้รวมถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

- รัฐบาลควรจะเริ่มมีการดำเนินการรูปแบบใหม่เพื่อทำให้พื้นฐานของแผนรับมือเหตุฉุกเฉินเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

- องค์กรกำกับดูแลควรที่จะทำการพัฒนาข้อกำหนดพื้นฐาน (basic regulations) ที่เกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

- องค์กรที่จะทำหน้าที่ดำเนินการในโรงไฟฟ้าควรที่จะเริ่มมีการพัฒนาแผนรับมือเหตุฉุกเฉินสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

          ในช่วงของเฟสที่ 3 รัฐบาลควรที่จะมีการดำเนินการต่อไปนี้คือ

- องค์กรกำกับดูแลควรที่จะมีการกำหนดรายละเอียดของข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน

- องค์กรที่ทำหน้าที่ดำเนินการในโรงไฟฟ้า ควรที่จะมีการพัฒนาแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน (แผนการและขั้นตอนสำหรับโรงไฟฟ้า) และควรมีการจัดเตรียมที่สอดคล้องกับ safety analysis report

- รัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลควรมีการพัฒนาและสามารถนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน ทั้งในระดับท้องถิ่น, ระดับชาติและในระดับสากล

- รัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลควรมีการจัดการเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างแผนรับมือเหตุฉุกเฉินของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์กับแผนการขององค์กรในระดับชาติที่เกี่ยวข้อง

- องค์กรกำกับดูแลควรทำการทบทวนและการประเมินเกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน, แผนการต่างๆ และขั้นตอนต่างๆ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และควรมีการตรวจสอบให้ถูกต้อง (verify) ให้สอดคล้องกับข้อกำหนด

- รัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลรวมถึงองค์กรที่ทำหน้าที่ดำเนินการในโรงไฟฟ้า (operating organization) ควรมีการแสดงถึงประสิทธิภาพเกี่ยวกับแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน โดยทำการฝึกซ้อม (exercise) ที่เหมาะสมซึ่งรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (local authorities) และประชาชนในท้องถิ่น (local communities)

ตารางแสดง ระยะของ emergency zone และ area size ตามข้อแนะนำของ IAEA

Image
© 2021 ส่วนงานพลังงานนิวเคลียร์และรังสี
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

กองประกันคุณภาพและพลังงานนิวเคลียร์
Email : nuclearnews@egat.co.th โทร. 02-436-1966

นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล